“ชาบู มี” 1 ปี คืนทุนล้าน เขาทำอย่างไร?
เจ้าของร้าน “ชาบู มีเพื่อนๆ ที่กำลังคิดจะทำร้านอาหารหรือเพิ่งเริ่มต้นเปิดร้านใหม่ๆ หนึ่งในความกังวลคงไม่พ้นเรื่องของผลประกอบการแน่นอนว่า ทุกคนอยากมีกำไร คืนทุนได้ไว แผนธุรกิจร้านชาบู แต่การทำร้านอาหารระยะเวลาคืนทุนอาจไม่ได้ไวอย่างที่คิด ดังนั้น สิ่งที่เพื่อนๆ ต้องทำคือการวางแผนเพื่อให้ร้าน ยืนระยะได้ยาวๆ ทำกำไรให้ได้ต่อเนื่อง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้หากเพื่อนๆ มีการวางแผน กำหนดเป้าหมายไว้แต่แรกเริ่ม เหมือนอย่างที่คุณอรพิน สุทธิเพท (กิฟท์) และ คุณอรพรรณ สุทธิเพท (ก้อย) สองสาวพี่น้องเจ้าของร้าน “ชาบู มี” คิดและทำกับร้าน พวกเธอมองไปที่การยืนระยะ เปิดร้านชาบู ใช้ งบ เท่า ไหร่ pantipทำกำไรให้ได้ต่อเนื่องจึงวางแผนกลุยุทธ์ต่างๆ เพื่อเป้าหมายไม่ขาดทุนรายเดือน คืนทุนให้ได้ภายใน 1 ปี ซึ่งพวกเธอทำได้สำเร็จ มาติดตามวิธีคิด และวิธีการทำของพวกเผื่อเพื่อนๆ จะนำไปปรับใช้ได้
คิดไว ทำไว
ธุรกิจร้านอาหารชาบูกำลังมาแรงในช่วงเดือนตุลาคม ปี 2557 คุณกิฟท์และคุณก้อยเริ่มคิดอยากทำธุรกิจส่วนตัวสักอย่างหนึ่ง ซึ่งในตอนนั้นธุรกิจร้านอาหารชาบูกำลังมาแรง คุณกิฟท์และคุณก้อยจึงเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง เพียงแค่ 1 เดือน ก็สามารถเตรียมเปิดร้านทดลองระบบแล้ว จะว่าไวก็ไวสำหรับการเตรียมตัวทำธุรกิจร้านอาหารซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย คุณกิฟท์เล่าว่า “ปัจจุบันมีงานประจำทำอยู่แล้ว งานลงตัวทุกอย่าง ไม่จำเป็นต้องทำธุรกิจให้เสี่ยงขาดทุนไปเปล่าๆ ก็ได้ เรียกง่ายๆ ว่าอยู่ในโหมด Comfort Zone แต่กิฟท์ก็มาคิดว่า ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอนงานที่ทำประจำรายได้ดีก็ไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างนี้ตลอด การมีรายได้ทางเดียวไม่ใช่ความคิดที่ปลอดภัยนัก ดังนั้นถ้าเราไม่รีบลงมือทำเปิดร้าน ชา บู เสียบไม้ ลงทุน เท่า ไหร่ ตอนที่มีความพร้อมพอจะทำได้ ผ่านจุดนี้ไปก็อาจไม่ได้ทำ ตอนนั้นบิวตัวเองแรงบันดาลใจมาเพียบ กิฟท์ตั้งใจทำมาก โชคดีที่เป็นคนคิดไว ทำไว แต่มีความรอบคอบ ทุกอย่างเสร็จภายในหนึ่งเดือน”ในหนึ่งเดือนที่ว่านี้เริ่มตั้งแต่การคิดหาประเภทร้านอาหาร วางแผนการตลาด คิดค้นสูตรน้ำซุปและน้ำจิ้มชาบู หาทำเล-ทำสัญญาเช่า ตกแต่งร้าน หาพนักงาน ฯลฯ เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 2557 ก็เริ่มเปิดร้านทดลองระบบ แผนธุรกิจร้านชาบูโดยเชิญชวนเพื่อนๆ ที่รู้จักที่ตรงกับลักษณะของกลุ่มเป้าหมายของร้านมาชิมรสชาติชาบู เพื่อนำจุดบกพร่องไปแก้ไขก่อนเปิดจริงในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 ถือว่าเป็นการเตรียมตัวที่รวดเร็วมาก ซึ่งมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจล้วนเมื่อถามว่าในระหว่าง 1 เดือนนั้น ไม่มีอุปสรรคอะไรเลยหรือ คุณกิฟท์ตอบว่า “มี” ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากคนข้างนอกมองมา พูดกดดันในเชิงที่ทำให้วิตกกังวลได้ หรือเจอเรื่องที่ไม่ได้เป็นไปตามที่คิดไว้ตั้งแต่แรก หลายคนอาจใจฝ่อ ถอนตัวไปแล้วก็ได้ แต่สำหรับคุณกิฟท์ยังมีความมั่นใจ เพราะเป็นสิ่งที่ตั้งใจทำตั้งแต่ต้น จึงไม่คิดล้มเลิกกลางคันเด็ดขาด ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ขอไปให้สุดตัว
ตั้งเป้าคืนทุน
การทำธุรกิจร้านชาบูใช้เงินลงทุนไม่น้อยเจ้าของร้าน “ชาบู มี ถ้ายิ่งสาขาใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้งบประมาณสูงขึ้นไปอีก สำหรับร้านชาบู มี เป็นร้านที่มีขนาดไม่ใหญ่ มีโต๊ะรองรับลูกค้าไม่ถึง 10 สิบโต๊ะ นอกจากว่ามีลูกค้ามาเป็นกลุ่มใหญ่ก็อาจเปิดให้บริการที่ชั้น 2 เป็นครั้งคราว คุณกิฟท์ใช้เงินลงทุนประมาณ 8 แสนบาท สำหรับค่าตกแต่งร้าน อุปกรณ์ครัว ชุดโต๊ะชาบู วัตถุดิบ โดยจะหมดไปกับอุปกรณ์ครัวและชุดโต๊ะชาบูเป็นส่วนใหญ่ คุณกิฟท์ให้เหตุผลว่า “เมื่อเราจะทำร้านอาหาร ควรเน้นเรื่องคุณภาพของวัตถุดิบ รสชาติอาหาร เป็นหลัก ฉะนั้นเรื่องการตกแต่งร้านจึงเป็นเรื่องรอง เพราะเราไม่ใช่ร้านคาเฟ่ที่ต้องเน้นสร้างบรรยากาศ จะได้ไม่นำเงินมาจมกับส่วนนี้มากเกินไป” เมื่อนำมารวมกับค่าเช่าร้านและเงินมัดจำล่วงหน้า ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1.2 ล้านบาทเลยทีเดียว อีกทั้งต้องมีเงินทุนสำรองประมาณ 2 แสนบาท/เดือน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น วัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น ถือเป็นจำนวนเงินที่มากสำหรับคนที่ไม่เคยทำธุรกิจอะไรมาก่อน เมื่อเม็ดเงินใหญ่ขนาดนี้ คุณกิฟท์จึงตั้งเป้าคืนทุนว่าจะต้องคืนทุนให้ได้ภายใน 3 ปี ตามกำหนดสัญญาเช่าร้านที่ระบุไว้ 3 ปีเช่นกัน เพราะอย่างน้อยก็เสมอตัว ไม่ขาดทุน ถ้าถึงเวลานั้นกระแสร้านชาบูเริ่มตกลง
นำความถนัดมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจตัวเอง
เนื่องจากคุณกิฟท์ (อรพิน สุทธิเพท) เรียนจบด้านการตลาดมาโดยตรงจึงนำความรู้ทางด้านการตลาดซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเองถนัดมาปรับใช้ในการสร้างแบรนด์และวางแผนสร้างการตลาดให้ร้านเป็นที่ต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษาคู่แข่งในตลาดว่าเป็นอย่างไร จุดอ่อน จุดแข็ง มีอะไรบ้าง นอกจากนี้คุณกิฟท์ยังเปิดใจรับฟังทุกๆ คำแนะนำที่ได้รับจากการออกตระเวนขอคำปรึกษาจากผู้มีความรู้ในเรื่องการทำธุรกิจร้านอาหาร เพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆอุปกรณ์เปิดร้านชาบู ที่จะเกิดขึ้นและวางแผนได้ถูกทาง โดยเฉพาะการศึกษาตัวสินค้าที่จะทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
หน้าที่ผู้บริหารต้องชัดเจน
ในช่วงที่วางแผนทำร้าน“ชาบู มี คุณกิฟท์กับคุณก้อยน้องสาว แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยคุณกิฟท์รับผิดชอบเรื่องการวางแผนบริหารจัดการร้าน การตลาด ส่วนคุณก้อยรับผิดชอบเรื่องสินค้า สต็อกวัตถุดิบต่างๆ สูตรเมนูต่างๆ ในร้านและแม้คุณก้อยมีความเชี่ยวชาญด้านการทำอาหารเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่เมื่อถึงวันที่ตัดสินใจทำร้านชาบูคุณก้อยก็ต้องเรียนรู้เรื่องชาบูตั้งแต่พื้นฐาน โดยได้ไปเรียนวิธีทำน้ำซุปและน้ำจิ้มชาบูที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง จากนั้นจึงนำความรู้ที่เรียนมาปรับสูตรน้ำซุปและน้ำจิ้มจนกลายเป็นซิกเนเจอร์ของร้าน
ขอบคุณเครดิตจาก https://kaijeaw.com/shabu-3/
ข่าวแนะนำ
แฉวีรกรรม เสี่ย ป. ชาวบ้านเห็นซุกเด็กฝาแฝดหน้าตาดีชาวเขมร วัย 14 ปี จากกรณีที่มีการบุกทลายฮาเร็มของเสี่ย ป.
6 เคล็ดลับ ที่คนเก่งและฉลาด เขาจะไม่โพสลงเฟซบุ๊ก เพราะมันดูไม่ฉลาด ดูไม่ดี6 สเตตัสที่เราไม่ควรโพสลงเฟสเพราะมันหมดสวย
เที่ยวตามรอยหนังต่างประเทศ กับ 10 สถานที่ที่มีอยู่จริง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตกรรมโตเกียวคิดค้นยาที่จำลองผลลัพธ์เหมือนกับคุณออกกำลังกาย
รวม 5 วิธีปลดหนี้ไว รับรองว่าใช้ได้ผลจริง!การปลดหนี้ด้วยการคัดแยกหนี้ดีและหนี้ไม่ดี